วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

        กระบวนทัศน์ทางการศึกษาและโทคโนโลยีสารสนเทศสัมพันธ์กันไฉน !!

 
 
 
 

กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเมื่อครั้งอดีต

 
              ยุคนี้เป็นยุคแห่งเกษตรกรรม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติสิ่งที่ถือว่าเป็นความรู้ของคนในยุคนี้จึงเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่นความรู้ในการทำนา เดินป่า ทำเ ครื่องมือหากิน จัดหารอาหาร สร้างเรือน ฯลฯ ความรู้เหล่านี้เป็นควมรู้ที่ผู้เรียน ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดการเรียนรู้ ผู้ที่ทำมาก่อนจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ยุคนี้โทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นจึงไม่มีการติดต่อกับชุมชนที่ไกลจากชุมชนของตนมากนัก การเรียนรู้ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการยังชีพ วิถีชีวิตของครอบครัวและ ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
            
             แหล่งเรียนรู้ของคนในยุคนี้ มีอยู่รอบตัว ทั้งในครอบครัว ชุมชน วัด ธรรมชาติ ผู้ให้การเรียนรู้ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน พระ ผู้นำศาสนา ครูช่าง หมอพื้นบ้าน ต้นไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น ครอบครัวถือเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด
           
             เนื้อหาการเรียนรู้ ก็เกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน และ มีเนื้อหาด้านศีลธรรมจริยธรรมที่เข้มข้น กระบวนการเรียนรู้ของคนในยุคนี้มีทั้งการสอนโดยตรง ด้วยการพูด การเล่า เทศน์ การังเกต การอ่าน การฟัง การถาม การทดลองทำ การเลียนแบบ การคิดไตร่ตรอง การเรียนรู้จะต้องคลุกคลีใกล้ชิด ทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับระบบคุณค่า ความเชื่อ จากครูผู้สอน ผู้เรียนจะให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟังครูผู้สอนเนื่องจากครูผู้สอนมีอายุมากกว่า มีความชำนาญมากกว่า และเนื่องจากวัมนธรรมการเรียนรู้ในยุคชุมชนจะเน้นให้ผู้เรียนเชื่อฟังผู้อาวุโส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เรียนขาดความคิดเชิงวิพากษ์หรือคิดต่างไปจากครู
 
            กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้นั้นจะเป็นการเล่า แสดงสาธิต การดู-เลียนแบบ ทดลองทำมาก การบันทึกการจารึกมีอยู่น้อยมาก การเรียนรู้ในรูปแบบการบันทึก การเขียนอ่าน ส่วนใหญ่จะอยู่ในพระราชสำนัก
 


กระบวนทัศน์ทางการศึกษาในปัจจุบัน ยุคแห่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

             สังคมในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสังคมแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสังคมที่เน้นความสะดวกสบาย ที่เน้นด้านวัตถุนิยม ให้คุณค่าและความสำคัญกับวัตถุมากกว่าบุคคล และดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นนอกจากการหาความสุขจากการบริโภควัตถุให้มากที่สุด เอาความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก มนุษย์แยกจากธรรมชาติ ครอบครัวไม่ใช่กลไกหลักในการเรียนรู้และอบรมกล่อมเกลาเด็กให้มีคุณภาพ ประชาชนในยุคนี้อยู่ในฐานะผู้รับ รัฐเป็นผู้จัดการการศึกษา สุขภาพอนามัย ศาสนาสาธารณูปโภค ฯลฯ ซึ่งต่างกันกับยุคชุมชนที่ทุกคนร่วมมือกันทำ และ เนื่องจากสังคมในยุคนี้เป็นยุคของโทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้คนบริโภคข่าวสาร จะรู้เรื่องของบุคคลในโลกผ่านทางระบบสัญญาณดาวเทียมซึ่งมีความก้าวหน้าและทันสมัยกว่าในยุคก่อน การให้นิยามของคำว่าความรู้และผู้รู้จึงแตกต่างจากยุคก่อนด้วย ความรู้นั้นนั้นก็เป็นความรู้ที่เกิดจากแนวคิดทฤษฎีที่มาจากฐานของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้และผู้รู้จะต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไปสู่ความทันสมัยซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

           แหล่งเรียนรู้ในยุคนี้จะอยู่ในโรงเรียน สถานศึกษา ในตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดาวเทียม อินเตอร์เนต ครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ข้าราชการ ฯลฯ บางครั้งการจัดการศึกษาแบบนี้ก็เป็นการทำลายแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญๆไป

          เนื้อหาการเรียนรู้ จะถูกแบ่งเป้นส่วนๆอย่างชัดเจน และลงลึก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์( ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ) แพทยศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งขาดการเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน เนื้อหาการเรียนรู้มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของรัฐ ธุรกิจ และตลาดแรงงาน เนื้อหาเน้นวิธีปฏิบัติมากกว่าวิธีคิด ขาดการทดลองทำจริงด้วยตนเอง เรียนแต่เนื้อหาในตำราและจากสื่ออิเล้กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนนั้นขาดประสบการณ์
 
           กระบวนการเรียนรู้ในยุคนี้ให้ความสำคัญให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนน้อยกระบวนการเรียนรู้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลให้หลากหลาย เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางด้านโทคโนโลยีสารสนเทศดังนั้นการเรียนนั้นบางครั้งก็ไม่มีครูผู้สอนมาคอยควบคุมดูแลนักเรียน เช่นการเรียนผ่านดาวเทียม การเรียนจากเทปหรือวีดีบันทึกการสอนซึ่งทำให้นักเรียนใกล้ชิดครูน้อยลงการให้ความเคารพและการเห็นคุณค่าของครูก็ลดลงด้วย แต่ข้อดีก็คือในการเรียนหรือการบรรยายของครูในห้องเรียนนักเรียนจะสามารถเข้าใจและมองภาพได้อย่างชัดเจนจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสื่อดังกล่าวสามารถให้ภาพและเสียงที่สมจริง
   
 

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลอย่างไรต่อตัวฉัน

 
                  ในด้านของการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญที่มาปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของฉัน จากที่ในอดีตที่เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ก้าวหน้ามากนักการเรียนของฉันก็ยังคงเป็นการเรียนที่เรียนจากกระดานดำครูจดและบรรยายความรู้ผ่านกระดานดำ หากต้องการจำทำรายงานส่งครูหรือเรียนรู้เพิ่มเติมที่ที่สามารถให้ฉันเข้าไปเรียนรู้ได้เห็นจะมีแค่ที่เดียวคือห้องสมุด การทำรายงานของฉันก็เป็นแค่เพียงการเขียนลงแผ่นกระดาษด้วยลายมือที่บรรจงเพียงเท่านั้น การจัดเก็บข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับงานต่างๆก็เป็นเพียงแค่การจดบันทึกลงกระดาษแล้วเก็บในลิ้นชัก หรือชั้นวางเท่านั้น แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นการเรียนในห้องเรียนของฉันก็ไม่ใช่แค่การเรียนผ่านกระดานทำอีกต่อไป แต่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถฉายขึ้นกระดานดำ มีสีสันที่มากขึ้นทำให้น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้สื่ออิเล้กทรอนิกส์เพิ่มเติมเช่นพวกวิดีทัศน์มาฉายประกอบการเรียนทำให้ฉันเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และสนใจเรียนมากกว่าเรียนเพียงการใช้กระดานดำเพียงอย่างเดียว และในการไปสืบค้นข้อมูลหรือทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอนนั้นฉันก็เริ่มรู้จักการใช้เครือข่านอินเทอร์เนตในการสืบค้นข้อมูล และรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์รายงานและส่งงานผ่านทางอินเตอร์เนตซึ่งสะดวกและรวดเร็ว มากขึ้น และในการเก็บข้อมูลฉันก็สามารถที่จะเก็บไว้ในรูปของดิส แผ่นซีดี เมื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าขึ้น ฉันก็ได้รู้จักกับอุปกรณ์อิเล็กโทนนิกส์มากมาย เช่น พริ้นเตอร์ เครืองฉาย โปรเจคเตอร์ ฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนของฉัน นอกจากนี้ฉันยังสมารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็ว และในการติดต่อสือสารก็ง่ายขึ้นจากการใช้เครือข่ายอินเตอร์เนต จะเห็นว่านอกจากฉันจะเรียนหนังสือแล้วฉันก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
 
  
.............. หวังว่าทุกท่านคงได้รับความรู้จากบทความนี้ กันอย่างถ้วนหน้าน่ะค่ะ  ............
 
 
 
 
ที่มา: อรศรี งามวิทยาพงษ์. 2549. กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลงจากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น