วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พูด......เขียน.....สัมพันธ์กันอย่างไรอย่างไรกับวิจัย

 

การพูด

         การพูด มีความสำคัญในชีวิตเรามาก เพราะมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทั้งคนที่อยู่ใกล้ตัวเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เครือญาติ และคนอื่นที่อยู่ในสังคมเดียวกันแต่ไม่ใช่เครือญาติ เช่นเพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน คนรู้จัก บางครั้งก็มีการพูดสื่อสารกับคนที่เราไม่รู้จัก ดังนั้นหากสามารถพูดได้ดี สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันคนอื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข
     

ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด      

        การพูดจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่ มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูด ฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้

การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล
       ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม

การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ
      ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน

การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์
     ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม

การพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
     เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน และอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

การพูดแสดงความคิดเห็น
     เป็นการใช้ทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิด เหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน ความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ


 การเขียน

       การเขียนเป็นระบบการสื่อสาร หรือบันทึกถ่ายทอดภาษาเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดย ใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่างๆเป็นสื่อ ดังนั้น การเขียนจึงเป็นทักษะการใช้ ภาษา แทนคำพูดที่สามารถสื่อความหมายให้เป็นหลักฐานปรากฏได้นานกว่าการพูด การเขียนที่เป็น เรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียนนั้น จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด ทักษะการใช้ภาษาเขียน ต้องอาศัย พื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะจากพื้นฐานดังกล่าว จะทำให้มีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 

ข้อคำนึงในการสื่อสารด้วยการเขียน

       การเขียนที่ดี คือ ต้องเขียนสื่อสารได้ตรงตามหลักจุดประสงค์ สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิด
และอารมณ์ใส่ลงไปในงานเขียนได้อย่างครบถ้วน หลักการเขียนทั่วไปมีดังนี้
       1. เขียนรูปคำให้ถูกต้อง ไม่ให้มีคำที่เขียนผิด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

       2. ใช้คำให้ตรงความหมาย คำในภาษาไทยบางคำมีหลายความหมาย ทั้งความหมายตรงและ
ความหมายแอบแฝง ผู้เขียนจะต้องศึกษาเรื่องการใช้คำให้ดีก่อนจะลงมือเขียน

       3. การใช้คำตามระดับบุคคล คำในภาษาไทยมีหลายระดับการใช้ จึงควรใช้คำให้ถูกต้องตามระดับ
ของบุคคล ได้แก่ บุคคลที่ต่ำกว่า บุคคลที่เสมอกัน และบุคคลที่อาวุโสกว่า

       4. เรียบเรียงคำเข้าประโยคถูกต้อง สละสลวย โดยผู้เขียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในโครงสร้างประโยค ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
          4.1 เขียนให้ถูกต้องตามรูปประโยค
          4.2 ไม่ใช้รูปประโยคภาษาต่างประเทศ
          4.3 ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

       5. ในการเขียนควรศึกษาการเขียนประเภทต่างๆ แล้วเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบ รวมทั้งจะต้องศึกษาข้อมูลการเขียนให้ถูกต้อง ชัดเจน

       6.ทบทวน เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ผู้เขียนควรอ่านทบทวน ตรวจสอบความสละสลวยของคำ เพื่อ
ปรับปรุงแก้ไขให้เกิดงานเขียนที่ดี
 
 
 
 

งานวิจัยกับการพูดและการเขียน

        ในขั้นตอนของการทำวิจัย เช่นการทำปริญญานิพนธ์ ผู้วิจัยจะต้องสืบค้นข้อมูลเพื่อให้เกิดหัวข้อในการวิจัยเมื่อผู้วิจัยได้หัวข้อในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยจะต้องทำโครงร่างในการวิจัยในกระบวนการวิจัยในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยจะต้องสือสารด้วยการเขียนซึ่งในการเขียนโครงร่างวิจัยผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมใช้ภาษาทางการ  อ่านแล้วเข้าใจ ว่าผู้วิจัยต้องการจะทำอะไรและมีการดำเนินการอย่างไร เมื่อเรานำเสนอโครงร่างวิจัยก็จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย เข้าใจไปในแนวทางเดียวกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะสื่อให้ผู้ฟังรับรู้ นอกจาการเขียนแล้ว การนำเสนอด้วยคำพูดถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการสื่อสารด้วยการเขียนแน่นอนว่าในการนำเสนอโครงร่างวิจัยผู้จัยจะต้องพูดอธิบายงานวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการจะทำให้คณะกรรมการและผู้ฟังเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง นอกจากจะได้อนุมัติให้ทำงานวิจัย ผู้วิจัยจะได้แนวทางในการทำงานวิจัยนั้นๆ ด้วย
 
        ในขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องสื่อสารด้วยการพูดอย่างแน่นอน เพราะผู้วิจัยจะต้องไปติดต่อกับหน่วยงานที่ผู้วิจัยต้องการจะเข้าไปทำการวิจัย การพูดที่ดีจะทำให้หน่วยงานนั้นๆเชื่อถือและยอมให้ผู้วิจัยเข้าไปดำเนินงานวิจัย
 
        ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูล ขั้นตอนนี้การเขียนและการพูดสำคัญอย่างมาก เพราะในการดำเนินการวิจัยผู้วิจัยจะต้องใช้เครื่องมือในการวิจัยเช่นแบบสอบถาม แบบทดสอบ การที่ผู้วิจัยจะได้ผลตามที่ผู้วิจัยต้องการนั้น ผู้วิจัยจะต้องจัดทำเครื่องมือให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้วิจัยเช่น แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยก็ต้องออกแบบให้ได้เนื้อหาของแบบสอบถามแต่ละข้อที่วัดเจตคติในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขั้นตอนนี้การเขียนถือว่าสำคัญอย่างมาก นอกจากการสร้างเครื่องมือแล้ว การอธิบายให้ผู้ที่ทำแบบสอบถามเข้าใจก็จะทำให้ผู้ทำแบบสอบถามทำได้อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยก็จะได้ผลการวิจัยตามที่ต้องการ
 
      ในขั้นตอนของการสรุปผลการวิจัยและการนำเสนอผลการวิจัยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง การนำเสนองานวิจัยหากผู้วิจัยนำเสนอได้ดีใช้ภาษาพูดที่เข้าใจได้ง่าย ผู้ฟังเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้วิจัยต้องการนำเสนอได้เป็นอย่างดี นอกจากการนำเสนอในรูปแบบของโปสเตอร์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆการเขียนถือเป็นสิ่งทีสำคัญมาก เขียนนำเสนอได้อย่างถูกต้อง จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจในงานวิจัยนั้นๆได้อย่างชัดเจน
 
     จะเห็นได้ว่าการพูดและการเขียนนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานวิจัย เพราะนอกจะทำให้ผู้วิจัยทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผลงานการวิจัยก็จะมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนั้นๆก็จะเป็นงานที่มีคุณค่าเพราะไม่ใช่แค่เพียงได้ผลการวิจัยแล้วเก็บเข้าชั้นวางหรือห้องสมุด แต่มีการเผยแพร่ด้วยการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดที่ดี ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ เกิดแนวทางนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
 
 
 
 
       
        .........หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะได้รับสาระ ความรู้ กันถ้วนหน้า น่ะค่ะ........

    



วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

      เรียนรู้ชีววิทยาด้วย " เทคนิค Re-code and Create to life "







 

อะไรคือ " เทคนิค Re-code and Create to life "

 
                เทคนิค Re-code and Create to life เป็นวิการสอนวิทยาศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่ใช้แนวคิดของ
 
Constructivism ซึ่งเป็นแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในชีวิตและ
 
ประสบการณ์จริงของผู้เรียน ร่วมกับกลวิธีของ PCK (Pedagogical Content Knoledge)ซึ่งเป็นกลวิการ
 
สอนที่จัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนนั้นได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เทคนิคดังกล่าวนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา
 
ศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นมาและได้จัดทำเป็นขั้นตอน เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการ
 
สอนของครู และพัฒนาผู้เรียนรายวิชาชีววิทยา ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้คือ
 
 
ขั้นตอนที่ 1 ระลึกและฝึกเตรียมความพร้อม (Recognize) ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิม อภิปราย ตั้งคำถาม
 
คาดคะเนคำตอบ และทำแบบฝึกหัดเตรียมความพร้อม เริ่มใช้กลวิธีของ PCK
 
 
ขั้นตอนที่ 2  หลอมรวมและพัฒนา (Combine and Development ) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจ ตรวจ
 
สอบความรู้ นำความรู้จากการสืบค้นด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ เน้นรูปแบบ Inquire Methode,Co-operation,
 
 PCK มาหลอมรวมกันเป็นความรู้ของตนเอง กลุ่ม และห้องเรียน
 
 
ขั้นตอนที่ 3 สร้างสรรค์สาระแห่งชีวิต ( Create to Life ) ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ สร้างสรรค์ผลงาน นำ
 
ความรู้ไปใช้ให้สอดคล้องในชีวิตประจำวัน เกิดผลการเรียนครบถ้วนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ
 
และคุณลักษณะ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ และคำอธิบายรายวิชาชีววิทยา

 
  

เทคนิค Re-code and Create to life สำคัญไฉน !!

 
                การใช้เทคนิค Re-code and Create to life ในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้นักเรียนมีความ
 
เข้าใจเนื้อหาทางชีววิทยาได้ง่ายขึ้น เพราะนักเรียนได้เรียนเนื้อหารายวิชาและลงมือปฏิบัติ มีส่วนร่วมใน

การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการ

สืบค้นความรู้ กระบวนการกลุ่ม และการเชื่อมโยง

ความรู้  สู่ชีวิตจริง เป็นการเรียนจากกิจกรรมดัง

กล่าว ผลที่ได้ก็คือนักเรียนจะเกิดความเข้าใจใน

เนื้อหาวิชาเรียนมากว่าการเรียนเพียงเนื้อหาใน

หนังสือเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนจะมองเห็นภาพได้

อย่างชัดเจนไม่ใช่เพียงแค่การใช้จินตนาการ ซึ่งการใช้จินตนาการบางครั้งผู้เรียนไม่เข้าใจเนื้อหาดีพอ

สิ่งที่ผู้เรียนจินตนาการไปพร้อมกับการเรียนในตำราเรียน อาจจะผิดพลาดหรือเกิดความคลาดเคลื่อนจาก

เนื้อหาได้  

 

ประโยชน์จากการใช้ เทคนิค Re-code and Create to life

 
             จากการนำเทคนิค Re-code and Create to lifeไปใช้ ในการสอนชีววิทยาในปี 2553 ผู้สอนสำรวจ
 
พื้นฐานนักเรียนก่อนเรียนรายบุคคลและวิเคราะห์ออกเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน พบว่า
 
หลังเรียน นักเรียนกลุ่มเก่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.70 กลุ่มปานกลางลดลงร้อยละ 21.89 และกลุ่มอ่อนลดลง
 








 
ร้อยละ 3.91 และจาการศึกษาการใช้เทคนิคนี้ซ้ำในภาคเรียนที่ 1/2554 พบว่านักเรียนกลุ่มเก่งเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 11.54 นักเรียนกลุ่มปานกลางลดลง 10.90 และนักเรียนกลุ่มอ่อนลดลง 0.64
 
            จากผลการใช้เทคนิคดังกล่าวอาจสามารถสรุปได้ว่าเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่เหมาะสม
 
ในการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา เนื่องจากนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ด้วย
 
ตนเองผ่านกระบวนการสืบค้นความรู้ กระบวนการกลุ่ม และการเชื่อมโยงความรู้สู่ชีวิตจริง



ที่มา:รุจิเรศ เลขธรากรและคณะ. 2556. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในห้องเรียน.กรุงเทพ.



 



วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

        กระบวนทัศน์ทางการศึกษาและโทคโนโลยีสารสนเทศสัมพันธ์กันไฉน !!

 
 
 
 

กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเมื่อครั้งอดีต

 
              ยุคนี้เป็นยุคแห่งเกษตรกรรม ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติสิ่งที่ถือว่าเป็นความรู้ของคนในยุคนี้จึงเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน เช่นความรู้ในการทำนา เดินป่า ทำเ ครื่องมือหากิน จัดหารอาหาร สร้างเรือน ฯลฯ ความรู้เหล่านี้เป็นควมรู้ที่ผู้เรียน ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเกิดการเรียนรู้ ผู้ที่ทำมาก่อนจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ยุคนี้โทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่เจริญก้าวหน้า ดังนั้นจึงไม่มีการติดต่อกับชุมชนที่ไกลจากชุมชนของตนมากนัก การเรียนรู้ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการยังชีพ วิถีชีวิตของครอบครัวและ ชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
            
             แหล่งเรียนรู้ของคนในยุคนี้ มีอยู่รอบตัว ทั้งในครอบครัว ชุมชน วัด ธรรมชาติ ผู้ให้การเรียนรู้ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน พระ ผู้นำศาสนา ครูช่าง หมอพื้นบ้าน ต้นไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น ครอบครัวถือเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุด
           
             เนื้อหาการเรียนรู้ ก็เกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน และ มีเนื้อหาด้านศีลธรรมจริยธรรมที่เข้มข้น กระบวนการเรียนรู้ของคนในยุคนี้มีทั้งการสอนโดยตรง ด้วยการพูด การเล่า เทศน์ การังเกต การอ่าน การฟัง การถาม การทดลองทำ การเลียนแบบ การคิดไตร่ตรอง การเรียนรู้จะต้องคลุกคลีใกล้ชิด ทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับระบบคุณค่า ความเชื่อ จากครูผู้สอน ผู้เรียนจะให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟังครูผู้สอนเนื่องจากครูผู้สอนมีอายุมากกว่า มีความชำนาญมากกว่า และเนื่องจากวัมนธรรมการเรียนรู้ในยุคชุมชนจะเน้นให้ผู้เรียนเชื่อฟังผู้อาวุโส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้เรียนขาดความคิดเชิงวิพากษ์หรือคิดต่างไปจากครู
 
            กระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้นั้นจะเป็นการเล่า แสดงสาธิต การดู-เลียนแบบ ทดลองทำมาก การบันทึกการจารึกมีอยู่น้อยมาก การเรียนรู้ในรูปแบบการบันทึก การเขียนอ่าน ส่วนใหญ่จะอยู่ในพระราชสำนัก
 


กระบวนทัศน์ทางการศึกษาในปัจจุบัน ยุคแห่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

             สังคมในยุคปัจจุบันนั้นเป็นสังคมแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสังคมที่เน้นความสะดวกสบาย ที่เน้นด้านวัตถุนิยม ให้คุณค่าและความสำคัญกับวัตถุมากกว่าบุคคล และดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีจุดมุ่งหมายอื่นนอกจากการหาความสุขจากการบริโภควัตถุให้มากที่สุด เอาความต้องการของมนุษย์เป็นหลัก มนุษย์แยกจากธรรมชาติ ครอบครัวไม่ใช่กลไกหลักในการเรียนรู้และอบรมกล่อมเกลาเด็กให้มีคุณภาพ ประชาชนในยุคนี้อยู่ในฐานะผู้รับ รัฐเป็นผู้จัดการการศึกษา สุขภาพอนามัย ศาสนาสาธารณูปโภค ฯลฯ ซึ่งต่างกันกับยุคชุมชนที่ทุกคนร่วมมือกันทำ และ เนื่องจากสังคมในยุคนี้เป็นยุคของโทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้คนบริโภคข่าวสาร จะรู้เรื่องของบุคคลในโลกผ่านทางระบบสัญญาณดาวเทียมซึ่งมีความก้าวหน้าและทันสมัยกว่าในยุคก่อน การให้นิยามของคำว่าความรู้และผู้รู้จึงแตกต่างจากยุคก่อนด้วย ความรู้นั้นนั้นก็เป็นความรู้ที่เกิดจากแนวคิดทฤษฎีที่มาจากฐานของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้และผู้รู้จะต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมไปสู่ความทันสมัยซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมจริยธรรม

           แหล่งเรียนรู้ในยุคนี้จะอยู่ในโรงเรียน สถานศึกษา ในตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดาวเทียม อินเตอร์เนต ครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ข้าราชการ ฯลฯ บางครั้งการจัดการศึกษาแบบนี้ก็เป็นการทำลายแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญๆไป

          เนื้อหาการเรียนรู้ จะถูกแบ่งเป้นส่วนๆอย่างชัดเจน และลงลึก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เช่น เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์( ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ ) แพทยศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งขาดการเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน เนื้อหาการเรียนรู้มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของรัฐ ธุรกิจ และตลาดแรงงาน เนื้อหาเน้นวิธีปฏิบัติมากกว่าวิธีคิด ขาดการทดลองทำจริงด้วยตนเอง เรียนแต่เนื้อหาในตำราและจากสื่ออิเล้กทรอนิกส์ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนนั้นขาดประสบการณ์
 
           กระบวนการเรียนรู้ในยุคนี้ให้ความสำคัญให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนน้อยกระบวนการเรียนรู้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลให้หลากหลาย เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางด้านโทคโนโลยีสารสนเทศดังนั้นการเรียนนั้นบางครั้งก็ไม่มีครูผู้สอนมาคอยควบคุมดูแลนักเรียน เช่นการเรียนผ่านดาวเทียม การเรียนจากเทปหรือวีดีบันทึกการสอนซึ่งทำให้นักเรียนใกล้ชิดครูน้อยลงการให้ความเคารพและการเห็นคุณค่าของครูก็ลดลงด้วย แต่ข้อดีก็คือในการเรียนหรือการบรรยายของครูในห้องเรียนนักเรียนจะสามารถเข้าใจและมองภาพได้อย่างชัดเจนจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสื่อดังกล่าวสามารถให้ภาพและเสียงที่สมจริง
   
 

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลอย่างไรต่อตัวฉัน

 
                  ในด้านของการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญที่มาปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ของฉัน จากที่ในอดีตที่เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ก้าวหน้ามากนักการเรียนของฉันก็ยังคงเป็นการเรียนที่เรียนจากกระดานดำครูจดและบรรยายความรู้ผ่านกระดานดำ หากต้องการจำทำรายงานส่งครูหรือเรียนรู้เพิ่มเติมที่ที่สามารถให้ฉันเข้าไปเรียนรู้ได้เห็นจะมีแค่ที่เดียวคือห้องสมุด การทำรายงานของฉันก็เป็นแค่เพียงการเขียนลงแผ่นกระดาษด้วยลายมือที่บรรจงเพียงเท่านั้น การจัดเก็บข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับงานต่างๆก็เป็นเพียงแค่การจดบันทึกลงกระดาษแล้วเก็บในลิ้นชัก หรือชั้นวางเท่านั้น แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นการเรียนในห้องเรียนของฉันก็ไม่ใช่แค่การเรียนผ่านกระดานทำอีกต่อไป แต่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถฉายขึ้นกระดานดำ มีสีสันที่มากขึ้นทำให้น่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้สื่ออิเล้กทรอนิกส์เพิ่มเติมเช่นพวกวิดีทัศน์มาฉายประกอบการเรียนทำให้ฉันเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และสนใจเรียนมากกว่าเรียนเพียงการใช้กระดานดำเพียงอย่างเดียว และในการไปสืบค้นข้อมูลหรือทำรายงานที่ได้รับมอบหมายจากครูผู้สอนนั้นฉันก็เริ่มรู้จักการใช้เครือข่านอินเทอร์เนตในการสืบค้นข้อมูล และรู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์รายงานและส่งงานผ่านทางอินเตอร์เนตซึ่งสะดวกและรวดเร็ว มากขึ้น และในการเก็บข้อมูลฉันก็สามารถที่จะเก็บไว้ในรูปของดิส แผ่นซีดี เมื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้าขึ้น ฉันก็ได้รู้จักกับอุปกรณ์อิเล็กโทนนิกส์มากมาย เช่น พริ้นเตอร์ เครืองฉาย โปรเจคเตอร์ ฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนของฉัน นอกจากนี้ฉันยังสมารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลต่างๆได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็ว และในการติดต่อสือสารก็ง่ายขึ้นจากการใช้เครือข่ายอินเตอร์เนต จะเห็นว่านอกจากฉันจะเรียนหนังสือแล้วฉันก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
 
  
.............. หวังว่าทุกท่านคงได้รับความรู้จากบทความนี้ กันอย่างถ้วนหน้าน่ะค่ะ  ............
 
 
 
 
ที่มา: อรศรี งามวิทยาพงษ์. 2549. กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลงจากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม